เมนู

แล้วอย่างนี้ พึงยังมหาชนผู้กำเริบร้อนกายและ
จิต ให้ดับหายไป เหมือนมหาเมฆ ยังแผ่น-
ดินให้ชุ่มชื่นด้วยน้ำ ฉะนั้น.

จบ สุมังคลชาดกที่ 4

อรรถกถาสุมังคลชาดกที่ 4



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ราโชวาทสูตร จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ภุสมฺหิ กุทฺโธ ดังนี้.
ก็ในครั้งนั้น พระศาสดา อันพระเจ้าปเสนทิโกศลทูลอาราธนา
ให้ตรัสเรื่องราว จึงได้ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติอยู่ในนคร
พาราณสี ทรงบำเพ็ญมหาทาน. พระองค์มีคนเฝ้าพระราชอุทยานคน
หนึ่ง ชื่อสุมังคละ. ครั้งนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ออกจาก
เงื้อมภูเขา นันทมูลกะ จาริกไปถึงพระนครพาราณสี อาศัยอยู่ในพระ-
ราชอุทยาน วันรุ่งขึ้นเข้าไปบิณฑบาตในพระนคร. พระราชาทอด
พระเนตรเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นแล้ว ทรงเลื่อมใส ไหว้แล้วนิมนต์
ให้ขึ้นไปสู่ปราสาท นั่งบนราชอาสน์ ทรงอังคาสด้วยของเคี้ยวของฉัน
มีรสเลิศต่าง ๆ ครั้นได้ทรงสดับอนุโมทนาแล้ว ทรงเลื่อมใสยิ่งขึ้น ขอ

อาราธนาให้อยู่ในพระราชอุทยานของพระองค์ ส่วนพระปัจเจกพุทธ-
เจ้าไปพระราชอุทยาน แม้พระองค์เองพอเสวยพระกระยาหารเช้าแล้ว
ก็เสด็จไปจัดแจงที่พักกลางคืน และที่พักกลางวันเป็นต้น ให้คนเฝ้า
พระราชอุทธยานทำหน้าที่ไวยาวัจจกร แล้วเสด็จเข้าพระนคร จำเดิม
แต่นั้นมาพระปัจเจกพุทธเจ้าก็ฉันที่พระราชมณเฑียรเป็นนิตย์ อยู่ที่
พระราชอุทยานนั้น สิ้นกาลนาน. แม้นายสุมังคละก็บำรุงพระปัจเจก
พุทธเจ้าโดยเคารพ.
อยู่มาวันหนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าเรียกนายสุมังคละมาบอกว่า
เราจักอยู่อาศัยบ้านโน้น 2 - 3 วัน แล้วจักมา ท่านจงกราบทูลทระ-
ราชาด้วย ดังนี้แล้วก็หลีกไป. นายสุมังคละ ก็ได้กราบทูลพระราชา
แล้ว. พระปัจเจกพุทธเจ้าอยู่ที่บ้านนั้น 2 - 3 วัน เวลาเย็นพระ-
อาทิตย์อัสดงคตแล้ว กลับมาสู่พระราชอุทยาน. นายสุมังคละไม่รู้ว่า
พระปัจเจกพุทธเจ้ามา ได้ไปเรือนของตน. พระปัจเจกพุทธเจ้า เก็บ
บาตรจีวร แล้วจงกรมหน่อยหนึ่ง นั่งอยู่บนแผ่นดิน. ก็ในวันนั้นมี
แขกมาเรือนของตนเฝ้าพระราชอุทยานหลายคน. นายสุมังคละคิดว่า
เราจักฆ่าเนื้อที่พระราชาไม่ห้ามในพระราชอุทยาน เพื่อปรุงสูปะพยัญ-
ชนะเลี้ยงแขก จึงถือธนูไปสู่สวน สอดสายตาหาเนื้อเห็นพระปัจเจก-
พุทธเจ้าเข้าใจว่า ชะรอยจักเป็นเนื้อใหญ่ จึงเอาลูกศรพาดสายยิงไป.
พระปัจเจกพุทธเจ้า เปิดผ้าคลุมศีรษะกล่าวว่า สุมังคละ. เขามีความ

กลัว กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมไม่รู้ว่าท่านมาแล้ว เข้าใจว่า
เป็นเนื้อจึงยิงไป ขอท่านได้โปรดงดโทษแก่กระผมเถิด เมื่อพระปัจเจก-
พุทธเจ้ากล่าวว่า ข้อนี้ยกไว้เถอะ บัดนี้ท่านจะกระทำอย่างไร จงมา
ถอนเอาลูกศรไปเสีย เขาไหว้แล้วถอนลูกศร. เวทนาเป็นอันมากเกิด
ขึ้นแล้ว. พระปัจเจกพุทธเจ้าปรินิพพาน ณ ที่นั้นเอง. คนเฝ้าสวนคิด
ว่า ถ้าพระราชาทรงทราบจักไม่ยอมไว้ชีวิตเรา จึงพาลูกเมียหนีไป. ใน
ทันใดนั่นเอง ด้วยเทวานุภาพ ได้ดลบันดาลให้เกิดโกลาหลทั่วพระนคร
ว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว.
วันรุ่งขึ้น ผู้คนพากันไปพระราชอุทยาน เห็นพระปัจเจกพุทธ-
เจ้าแล้ว กราบทูลพระราชาว่า คนเฝ้าสวนฆ่าพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว
หนีไป. พระราชาเสด็จไปด้วยบริวารเป็นอันมาก ทรงบูชาศพเจ็ดวัน
แล้วทรงทำฌาปนกิจด้วยสักการะใหญ่ เก็บพระธาตุ ก่อพระเจดีย์บรรจุ
พระธาตุ บูชาพระเจดีย์นั้น ครอบครองราชสมบัติโดยธรรม. ฝ่าย
นายสุมังคละ พอล่วงไปหนึ่งปี คิดว่า เราจักรู้วาระน้ำจิตของพระวาชา
จึงมาหาอำมาตย์คนหนึ่ง กล่าวว่า ท่านจงรู้ว่า พระราชาทรงรู้สึกใน
เราอย่างไร ? อำมาตย์นั้นกล่าวพรรณาคุณของนายสุมังคละในสำนักของ
พระราชา. พระราชาทำเป็นไม่ได้ยินเสีย. อำมาตย์ไม่ได้กล่าวอะไร ๆ อีก
กลับมาบอกนายสุมังคละว่า พระราชาทรงไม่พอพระทัย. พอล่วงไปปี
ที่สอง นายสุมังคละย้อนมาอีก พระราชาได้ทรงนิ่งเสียเช่นคราวก่อน

พอล่วงไปปีที่ 3 นายสุมังคละได้พาลูกเมียมา. อำมาตย์รู้ว่า พระราชา
มีพระทัยอ่อนลงแล้ว จึงพานายสุมังคละ ไปยืนที่ประตูพระราชวัง แล้ว
กราบทูลพระราชาว่า นายสุมังคละมา. พระราชารับสั่งให้เรียกนาย
สุมังคละมา ทรงทำปฏิสัณถาร แล้วตรัสว่า สุมังคละ เหตุไรท่านจึง
ฆ่าพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เป็นบุญเขตของเราเสีย ? นายสุมังคละกราบทูล
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ข้าพระองค์มิได้มีเจตนาฆ่าพระปัจเจก-
พุทธเจ้า ข้าพระองค์เข้าใจผิด คิดว่าเป็นเนื้อจึงได้ยิงไป ดังนี้แล้วได้
กราบทูลเหตุการณ์ที่เป็นมานั้นให้ทรงทราบ. ลำดับนั้น พระราชาทรง
ปลอบโยนเขาว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านอย่ากลัวเลย แล้วตั้งให้เป็นผู้เฝ้า
พระราชอุทยานอีก.
ลำดับนั้น อำมาตย์ได้กราบทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ
เหตุไรพระองค์ แม้ได้ฟังคุณของนายสุมังคละถึง 2 ครั้ง ก็ไม่ตรัส
อะไร ๆ แต่พอได้ฟังในครั้งที่ 3 เหตุไรจึงทรงเรียกมาอนุเคราะห์.
พระราชาตรัสว่า แน่ะพ่อ ธรรมดาพระราชากำลังพิโรธ ทำอะไรลง
ไปด้วยความผลุนผลันไม่สมควร ฉะนั้นครั้งก่อน ๆ เราจึงนิ่งเสีย ครั้ง
ที่ 3 เรารู้ใจของเราว่า ความโกรธนายสุมังคละอ่อนลงแล้ว จึงให้
เรียกเขามา ดังนี้ เมื่อจะทรงแสดงราชวัตร ได้ตรัสคาถาเหล่านี้ ความ
ว่า :-

พระเจ้าแผ่นดินทรงรู้ว่า เรากำลังกริ้วจัด
ไม่พึงลงอาชญา อันไม่สมควรแก่ตน โดยไม่
ใช่ฐานะก่อน พึงเพิกถอนความทุกข์ของผู้อัน
อย่างร้ายแรงไว้.
เมื่อใดพึงรู้ว่าจิตของตนผ่องใส พึงใคร่
ครวญความผิดที่ผู้อื่นทำไว้ พึงพิจารณาให้เห็น
แจ่มแจ้งด้วยตนเองว่า นี้ส่วนประโยชน์ นี่
ส่วนโทษ เมื่อนั้น จึงปรับไหมบุคคลนั้น ๆ
ตามสมควร.
อนึ่ง พระเจ้าแผ่นดิน พระองค์ใดไม่
ถูกอคติครอบงำ ย่อมแนะนำผู้อื่นที่ควรแนะนำ
และไม่ควรแนะนำได้ พระเจ้าแผ่นดินพระ-
องค์นั้น ข้อว่าไม่เผาผู้อื่นและพระองค์เอง
พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใดในโลกนี้ ทรงลง
อาชญาสมควรแก่โทษ พระเจ้าแผ่นดินพระ-
องค์นั้น อันคุณงามความดี คุ้มครองแล้ว ย่อม
ไม่เสื่อมจากสิริ.

กษัตริย์เหล่าใด ถูกอคติครอบงำ ไม่ทรง
พิจารณาเสียก่อนแล้วทำลงไป ทรงลงอาชญา
โดยผลุนผลัน กษัตริย์เหล่านั้น ประกอบไป
ด้วยโทษ น่าติเตียน ย่อมละทิ้งชีวิตไป และ
พ้นไปจากโลกนี้แล้ว ก็ย่อมไปสู่ทุคติ.
พระราชาเหล่าใด ทรงยินดีแล้วในทศ-
พิธราชธรรม อันพระอริยเจ้าประกาศไว้ พระ-
ราชาเหล่านั้นเป็นผู้ประเสริฐ ด้วยกาย วาจา
และใจ พระราชาเหล่านั้น ทรงดำรงมั่น อยู่
แล้วในขันติ โสรัจจะ และสมาธิ ย่อมถึง
โลกทั้งสอง โดยวิธีอย่างนั้น.
เราเป็นพระราชาผู้เป็นใหญ่ของสัตว์และ
มนุษย์ทั้งหลาย ถ้าเราโกรธขึ้นมา เราก็ตั้งตน
ไว้ในแบบอย่างที่โบราณราชแต่งตั้งไว้ คอย
ห้ามปรามประชาชนอยู่อย่างนั้น ลงอาชญา
โดยอุบายอันแยบคาย ด้วยความปราณี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อเปกฺขิยาน ความว่า ได้เห็น คือรู้.
ท่านกล่าวอธิบายไว้ดังนี้. แน่ะพ่อ ธรรมดาพระราชาผู้เป็นใหญ่ใน
แผ่นดินรู้ว่า เรากำลังโกรธจัด คือถูกความโกรธที่มีกำลังครอบงำ ไม่
พึ่งด่วนลงอาชญาอันต่างด้วยอาชญามีวัตถุ 8 ประการเป็นต้น ต่อผู้อื่น
คือไม่พึงยังอาชญาให้เป็นไป.
เพราะเหตุไร ?
เพราะว่าพระราชาทรงกริ้วแล้ว ไม่พึงรีบลงอาชญา 8 อย่าง
16 อย่าง โดยอฐานะ คือโดยเหตุอันไม่บังควร ไม่พึงรับสั่งให้เขา
นำสินไหมมาเท่านี้ หรือให้ลงทัณฑ์นี้แก่เขา ซึ่งไม่สมควรแก่ความเป็น
พระราชาของตน พึงถอนความทุกข์ร้ายแรง คือทุกข์ที่มีกำลังของผู้อื่น
เสีย.
บทว่า ยโต แปลว่า ในเวลาใด.
ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ดังนี้ ก็เมื่อใดพระราชารู้ความผ่องใสแห่ง
จิตของตนซึ่งเกิดขึ้นในผู้อื่น พึงประกอบคือกำหนดความผิด คือคดีที่
ผู้อื่นทำไว้แผนกหนึ่ง เมื่อนั้นทรงใคร่ครวญอย่างนี้แล้ว พึงทำข้อความ
ให้แจ่มแจ้ง ด้วยตนเองว่า ในคดีนี้ นี้เป็นส่วนประโยชน์ นี้เป็นส่วน
โทษของผู้นั้น ดังนี้แล้ว จึงเรียกเอาทรัพย์ของผู้ทำผิดนั้น 8 กหาปณะ
หรือ 16 กหาปณะ ให้พอแก่แปดหรือสิบหกกระทง มาตั้งลงปรับไหม
คล้ายลงอาชญา คือใช้แทนโทษ.

บทว่า อมุจฺฉิโต ความว่า อนึ่ง พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใด
ไม่ถูกกิเลสมีฉันทาคติเป็นต้น แปดเปื้อนครอบงำ ย่อมแนะนำคือ
กำหนดรู้ ผู้ควรแนะนำ และไม่ควรแนะนำได้ พระเจ้าแผ่นดินพระ-
องค์นั้น ชื่อว่าไม่เผาผู้อื่น และไม่เผาพระองค์เอง. อธิบายว่า พระ-
เจ้าแผ่นดิน ลงพระอาชญาโดยหาเหตุมิได้ด้วยอำนาจแห่งอคติมีฉันทา-
คติเป็นต้น ชื่อว่าย่อมเผา คือทำให้ไหม้ได้แก่เบียนเบียนทั้งผู้อื่น ทั้ง
พระองค์เอง เพราะบาปกรรมมีฉันทาคติเป็นต้นนั้นเป็นเหตุ ก็พระ-
ราชาเช่นนี้ ชื่อว่าเผาผู้อื่น เผาพระองค์เองด้วยประการฉะนี้.
บทว่า โย ทณฺฑธโร ภวตีธ อิสฺสโร ความว่า พระเจ้า-
แผ่นดินพระองค์ใดในโลกนี้ ทรงลงอาชญา เหมาะสมแก่โทษ ในหมู่
สัตวโลกนี้ พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้น ชื่อว่า ทัณฑธร.
บทว่า ส วณฺณคุตฺโต ความว่า พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้น
เป็นผู้อันความสรรเสริญถึงคุณ และความสรรเสริญคือยศคุ้มครองรักษา
ย่อมไม่กำจัด คือไม่เสื่อมจากสิริเลย.
บทว่า อวณฺณสํยุตฺตาว ชหนฺติ ความว่า กษัตริย์เหล่านั้น
ไม่ดำรงธรรม เป็นพระเจ้าแผ่นดินเหลาะแหละ เป็นผู้ประกอบไปด้วย
โทษ ย่อมละทิ้งชีวิตไป.

บทว่า ธมฺเม จ เย อริยปฺปเวทิเต ความว่า พระราชา
เหล่าใด ทรงยินดีในทศพิธราชธรรม ที่พระธรรมิกราชเจ้าผู้ประเสริฐ
ด้วยอาจาระประกาศไว้.
บทว่า อนุตฺตรา เต ความว่า พระราชาเหล่านั้น เป็นผู้ประ-
เสริฐด้วยกาย วาจา ใจ ยอดเยี่ยมครบไตรทวาร.
บทว่า เต สนฺติโสรจฺจสมาธิสณฺฐิตา ความว่า พระราชา
เหล่านั้น ดำรงอยู่ในความสงบกิเลส ในโสรัจจะ กล่าวคือความเป็น
ผู้มีศีลบริสุทธิ์ และในสมาธิคือความเป็นผู้มีจิตเป็นเอกัคคตารมณ์ เป็น
ธรรมิกราช.
บทว่า วชนฺติ โลกํ ทุภยํ ความว่า พระราชาเหล่านั้น
ครองราชสมบัติโดยยุติธรรม ย่อมถึงโลกทั้งสองเท่านั้น คือจากมนุษย์
โลกถึงเทวโลก จากเทวโลกถึงมนุษยโลก ไม่ต้องไปเกิดในทุคติมีนรก
เป็นต้น.
บทว่า นรปมุทานํ ความว่า เราเป็นพระราชาผู้เป็นใหญ่ ของ
สัตว์และมนุษย์ทั้งหลาย.
บทว่า ฐเปมิ อตฺตานํ ความว่า ถึงแม้เราโกรธขึ้นมา ก็ต้อง
ไม่ลุอำนาจความโกรธ ตั้งตนไว้ในแบบอย่าง อันโบราณราชทรงบัญญัติ
ไว้ ไม่ทำลายหลักธรรมอันเป็นเครื่องวินิจฉัยของท่านเสีย.

เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ตรัสแสดงคุณของพระองค์ด้วยคาถา 6
คาถาอย่างนี้แล้ว ราชบริษัททั้งหมดพากันชื่นชมยินดี กล่าวสรรเสริญ
คุณของพระราชาว่า คุณสมบัติคือศีล และอาจาระนี้ สมควรแก่พวก
เราทีเดียว. ส่วนนายสุมังคละ เมื่อพวกบริษัทกล่าวจบแล้ว ก็ลุกขึ้น
ถวายบังคมพระราชา ประคองอัญชลีกล่าวสรรเสริญพระราชา ได้
กล่าวคาถา 3 คาถาความว่า :-
ข้าแต่กษัตริย์ผู้ชนาธิปัตย์ บริวารสมบัติ
และปัญญา มิได้ละพระองค์ในกาลไหน ๆ
เลย พระองค์มิได้มักกริ้วโกรธ มีพระหฤทัย
ผ่องใสอยู่เป็นนิตย์ ขอพระองค์ทรงปราศจาก
ทุกข์ บำรุงพระชนม์ชีพ ยืนอยู่ตลอดร้อย
พรรษาเถิด.
ข้าแต่กษัตริย์ ขอพระองค์จงประกอบ
ด้วยคุณธรรมเหล่านี้ คือ โบราณราชวัตรมั่นคง
พระราชทานอภัยให้ทูลเตือนได้ ไม่ทรงกริ้ว-
โกรธ มีความสุขสำราญไม่เดือดร้อน ปกครอง
แผ่นดินให้ร่มเย็น แม้จุติจากโลกนี้ไปแล้ว ก็
จงทรงถึงสุคติเถิด.

พระเจ้าธรรมิกราช ทรงฉลาดในอุบาย
เมื่อครองราชสมบัติด้วยอุบายอันเป็นธรรม คือ
กุศลกรรมบถ 10 อันบัณฑิตแนะนำกล่าวไว้ดี
แล้วอย่างนี้ พึงยังมหาชนผู้กำเริบร้อนกายและ
จิต ให้ดับหายไป เหมือนมหาเมฆ ยังแผ่น-
ดินให้ชุ่นชื่นด้วยน้ำ ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สิรี จ ลกฺขี จ ได้แก่ บริวาร
สมบัติ และปัญญา.
บทว่า อนีโฆ แปลว่า จงเป็นผู้ปราศจากทุกข์.
บทว่า อุเปต ขตฺติย ความว่า ข้าแต่บรมกษัตริย์ ขอพระองค์
จงประกอบด้วยคุณธรรมเหล่านี้. พระบาลีก็อย่างเดียวกันนี้แหละ.
บทว่า ฐิตมาริยวตฺตี ความว่า โบราณราชวัตร กล่าวคือทศ-
พิธราชธรรม ชื่อว่า ฐิตอริยวัตร จงเป็นผู้ดำรงมั่นในราชธรรม เพราะ
ตั้งมั่นอยู่ในโบราณราชวัตร คือทศพิธราชธรรมนั้น.
บทว่า อนุปฺปีฬ ปสาส เมทนึ ความว่า และจงปกครอง
แผ่นดิน ไม่ให้พสกนิกรเดือดร้อน.
พระบาลีก็อย่างเดียวกันนี้แหละ.

บทว่า สุนีเตน ความว่า อันบัณฑิตแนะนำไว้ดี คือ ถูกต้อง
ตามทำนองคลองธรรม.
บทว่า ธมฺเมน ได้แก่ธรรมคือกุศลกรรมบถ 10.
บทว่า ญาเยน นี้ เป็นไวพจน์ของบทต้นนั่นเอง.
บทว่า อุปายโส แปลว่า ด้วยความฉ า ในอุบาย.
บทว่า นยํ ความว่า พระเจ้าธรรมิกราช เมื่อทรงแนะนำ คือ
ครองราชสมบัติ.
บทว่า นิพฺพาปเย ความว่า เมื่อนายสุมังคละจะแสดงความว่า
พระเจ้าธรรมิกราช เมื่อบำบัดความกระวนกระวาย ทางกายและทางใจ
ได้ด้วยข้อปฏิบัตินี้ ชื่อว่า พึงทำมหาชนผู้กำเริบร้อน ด้วยทุกข์กาย
ทุกข์ใจให้สดับเย็นได้ เหมือนมหาเมฆยังแผ่นดินให้ชุ่มชื่นด้วยน้ำฉะนั้น
ขอพระองค์จะทำมหาชนให้ดับเข็ญ เช่นนั้นเถิด.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงด้วยการประ-
ทานโอวาท แก่พระเจ้าโกศลแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า พระปัจเจก-
พุทธเจ้าในครั้งนั้นได้ปรินิพพานแล้ว นายสุมังคละ คนเฝ้าพระราช-
อุทยานในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระอานนท์ในบัดนี้ พระราชาในครั้งนั้น
ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสุมังคลชาดกที่ 4

5. คังคมาลชาดก



ว่าด้วยกามทั้งหลายเกิดจากความดำริ



[1155] แผ่นดินร้อนเหมือนถ่านไฟ ดารดาษไป
ด้วยทรายอันร้อนเหมือนเถ้ารึง เมื่อเป็นเช่นนี้
เจ้ายังทำเป็นทองไม่รู้ร้อนขับเพลงอยู่ได้ แดด
ไม่เผาเจ้าดอกหรือ เบื้องบนก็ร้อน เบื้องล่าง
ก็ร้อน เมื่อเป็นเช่นนี้ เจ้ายังทำเป็นทองไม่รู้
ร้อน ขับเพลงอยู่ได้ แดดไม่เผาเจ้าดอกหรือ ?
[1156] ข้าแต่พระราชา แดดหาเผาข้าพระองค์ไม่
แต่ว่าวัตถุกามและกิเลสกาม ย่อมเผาข้าพระ-
องค์ เพราะว่าความประสงค์หลาย ๆ อย่าง
มีอยู่ ความประสงค์เหล่านั้น ย่อมเผาข้าพระ-
องค์ แดดหาได้เผาข้าพระองค์ไม่.
[1157] ดูก่อนกาม เราได้เห็นมูลรากของเจ้า
แล้ว เจ้าเกิดจากความดำริ เราจักไม่ดำริถึงเจ้า
อีกละ เจ้าจักไม่เกิดด้วยอาการอย่างนี้.